|
|
|
ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เดิมเป็นหมู่ที่ 11 ตำบลเนินมะกอก ได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็นตำบลในปี 2491 โดยกระทรวงมหาดไทย ราษฎรผู้เข้ามาอยู่อาศัยแต่เดิมเป็นกรรมกรว่างงานในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) มาสร้างกระท่อมชั่วคราวรับจ้างทำไร่ |
|
|
ต่อมานานเข้ามีจำนวนประชากรมากขึ้นได้เริ่มลงหลักปักฐานปลูกบ้าน ทำไร่เอง ประกอบกับราษฎรภายในตำบล อำเภอและจังหวัดใกล้เคียงอพยพเข้ามาจับจองที่ทำไร่เพิ่มมากขึ้น “นิคมกสิกร” จึงถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2479 โดยกองกรรมการ กรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ต่อมาเมื่อ 1 มีนาคม 2484 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย จึงได้รับโอนกิจการนิคมกสิกรเขาบ่อแก้วมาดำเนินงานและมีประกาศพระราชกฤษฎีกายกเลิก “นิคมสร้างตนเองเขาบ่อแก้ว”
ส่วนที่มาของคำว่า “เขาบ่อแก้ว” นั้น มีเรื่องเล่าลือต่อกันมาว่า มีชาวบ้านคนหนึ่งระบุว่ามีลูกแก้วสวยงามมากอยู่บนภูเขาลูกหนึ่ง และได้ชวนเพื่อนบ้านจำนวนหนึ่งขึ้นไปขุดค้นหา จนกระทั่งพบลูกแก้วดังกล่าวถูกฝังอยู่ในร่องหิน ในขณะที่ทุกคนกำลังดีใจอยู่นั้น ร่องหินดังกล่าวได้แยกออกจากกันเป็นโพรงลึกพร้อมกับลูกแก้วได้หล่นลงไป และมีน้ำใสพุ่งออกมาจากโพรงหินจนเอาอะไรมาอุดก็ไม่อยู่ ชาวบ้านละแวกนั้นจึงเรียกกันว่า “น้ำบ่อแก้ว” และเรียกภูเขาลูกนั้นว่า “เขาบ่อแก้ว” ซึ่งปัจจุบันบ่อดังกล่าวก็ยังปรากฏอยู่ และชาวบ้านได้เทปูนทำปากบ่อใหม่ |
|
|
|
|
ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว เป็น 1 ใน 11 ตำบลของ
อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีทำเลพื้นที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของที่ว่าการอำเภอพยุหะคีรี ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอ ตามถนนทางหลวงหมายเลข 3327 สายพยุหะคีรี - ท่าตะโก ประมาณ 13 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัด ตามถนนสายเอเชีย ประมาณ 42 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 118.878 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 74,298 ไร่ |
|
|
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี |
|
|
|
     |
|
|
|
|
|
|
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลนิคมเขาบ่อแก้วมีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบสูง และมีภูเขาเป็นบางส่วน |
|
|
|
|
|
|
การเกษตร |

 |
ส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่อ้อย ข้าวโพด มันสำประหลัง ถั่วลิสง |
การปศุสัตว์ |

 |
เลี้ยงวัว แพะ แกะ ไก่ |
|
|
|
|
|
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมีลักษณะร้อนชื้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,368 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 3,081 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.38 |

 |
หญิง จำนวน 3,287 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.62 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,511 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 53.568 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
หนองไม้แดง |
361 |
387 |
748 |
294 |
|
 |
2 |
|
บ่อทอง |
172 |
196 |
368 |
117 |
 |
|
3 |
|
นิคมเขาบ่อแก้ว |
230 |
292 |
522 |
318 |
|
 |
4 |
|
เขาบ่อเหล็ก |
219 |
227 |
446 |
154 |
 |
|
5 |
|
วังตามา |
110 |
135 |
245 |
92 |
|
 |
6 |
|
เขาสระนางสรง |
283 |
288 |
571 |
282 |
 |
|
7 |
|
เขาถ้ำเพดาน |
223 |
253 |
476 |
218 |
|
 |
8 |
|
เนินแสมสาร |
158 |
183 |
341 |
153 |
 |
|
9 |
|
ห้วยตั้ง |
156 |
151 |
307 |
135 |
|
 |
10 |
|
บ้านเขาเด็กเลี้ยงวัว |
224 |
238 |
462 |
190 |
 |
|
11 |
|
ตลาดวัว |
342 |
320 |
662 |
208 |
|
 |
12 |
|
โป่งสวรรค์ |
116 |
117 |
233 |
82 |
 |
|
13 |
|
เขาสนามชัย |
98 |
109 |
207 |
65 |
|
 |
14 |
|
น้ำพุ |
125 |
129 |
254 |
58 |
 |
|
15 |
|
ทุ่งใหญ่พัฒนา |
136 |
130 |
266 |
75 |
|
 |
16 |
|
บ่อใหม่ |
128 |
132 |
260 |
70 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
3,081 |
3,287 |
6,368 |
2,511 |
 |
|
***ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2560 จากข้อมูลจากสำนักบริหารงานทะเบียนอำเภอพยุหะคีรี*** |
|
|